ReadyPlanet.com
dot
บริการพิมพ์
dot
ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน
ซองผ้าป่า ซองกฐิน
แผ่นพับใบปลิว
ซองจดหมาย ซองเอกสาร
หัวจดหมาย
ปฏิทินแขวนจีน
พิมพ์โบรชัวร์
พิมพ์กล่องกรดาษกล่องสบู่กล่องครีม
ป้ายห้อยสินค้าhangtag
พิมพ์ถุงกระดาษถุงแฟชั่น
พิมพ์โปสการ์ดสคส
พิมพ์การ์ดงานบวช
แผ่นพับสวดมนตฺ์
พิมพ์แบบฟอร์ม
พิมพ์ประกาศนียบัตร
พิมพ์แฟ้มกระดาษ
พิมพ์ป้ายห้อยสินค้าhangtag
พิมพ์คูปอง
พิมพ์หนังสือสวดมนต์
พิมพ์กระดาษครอบแก้ว
dot
dot
dot
dot
bulletวันพืชมงคล ในปฏิทิน


nanasara


ประวัติปฏิทินตะวันตก

 

ประวัติของ ปฏิทิน

 

 

ปฏิทิน ภาษาอังกฤษคือ calendar มาจากภาษากรีกโบราณ ว่า Kalend แปลว่า I cry เพราะ ในสมัยโบราณจะมีคนคอยร้องบอกชาวเมือง วันขึ้นเดือนใหม่ ให้ลูกหนี้จ่ายหนี้เงินค้าง ต่อมาได้พัฒนาเป็น ปฏิทิน แทนคนร้องบอกข่าว ปฏิทินจึงเป็นตัวบอกเวลา กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ต่อมาได้เริ่มบันทึก วัน เวลา ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ที่เรียกกันว่า "ปฏิทิน"

 

ปฏิทิน สมัยก่อน

จากหลักฐานทางโบราณคดี ชนชาติแรกที่คิดค้น ระบบปฏิทิน คือ ชาวบาบิโลน พวกเขาสังเกตดวงจันทร์ มีช่วงสว่าง คือ ข้างขึ้น ช่วงมืดคือ ข้างแรม ข้างขึ้นรวมกับข้างแรมเป็น 1 รอบ คือ 1 เดือน ปฏิทิน แบบนี้เรียกว่า

 

ปฏิทิน จันทรคติ พวกเขายังสังเกตุอีกว่า เมื่อครบ 12 เดือน ฤดูกาลก็จะเวียนกลับมาอีกครั้ง จีงกำหนดให้ 12 เดือนเป็น 1 ปี

 

อาณาจักรใกล้เคียง ก็รับเอาปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาใช้ เช่น ชาวอียิปต์โบราณ ชาวกรีก เป็นต้น ชาวอียิปต์โบราณได้ปรับปรุงปฏิทินให้ดียิ่งขึ้น ส่วนชาวโรมันกำหนดให้ 1ปี มี 355 วัน ตามจันทรคติ และทุก ๆ 4 ปี ปีอธิกวาร  ต้องเพิ่มวันเข้าไปอีก 22 วัน เพื่อให้ตรงกับฤดูกาล จนกระทั่ง 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ แห่ง โรม  เข้ายึดอียิปต์ สมัยพระนางคลีโอพัตรา ได้นำแนวคิดของนักดาราศาสตร์ ชาวอียิปต์ชื่อ โซซิเจเนส Sosigenes ปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน เรียกว่า ปฏิทิน จูเลียน  จนถึง ค.ศ. 1582จึงได้แก้ไขอีกครั้ง

ปฏิทิน ยุคปัจจุบัน

เนี่องจากเกิดปัญหา ปีปฏิทินสั้นกว่าปีฤดูกาลจริง ฤดูการต่างๆและปรากฏการณ์ ธรรมชาติ มาถึงเร็วกว่าปีปฏิทินมากขึ้นทุกปี เช่นใน ค.. 1582 วสันตวิษวัต (กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน) ตามปีปฏิทินเดิมคือวันที่ 21 มีนาคม แต่ปรากฏการณ์นี้กลับเกิดขึ้นจริงในวันที่ 11 มีนาคม เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสันตปาปา เกรกอรีที่ 13  ได้ออกประกาศให้หักวันออกจากปีปฏิทินเสีย 10 วัน มีผลในปี ค.. 1582 นั้น หลังวันที่ 4 ตุลาคม กลายเป็นวันที่ 15 ตุลาคม แทนที่จะเป็น 5 ตุลาคม ในปีอธิกวารให้เพิ่มวันเป็นการชั่วคราว 1วัน ในปีถัดไปให้หักออก ยังกำหนดให้ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เรียกปฏิทินแบบใหม่นี้ว่า ปฏิทิน เกรกอเรียน ประกาศนี้มีผลทำให้ ยุโรป ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของศาสนจักร ต้องใช้ปฏิทินแบบเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 ปัจจุบัน "ปฏิทินกลายเป็นสิ่งจำเป็น ติดต่อนัดหมายกันผ่าน วัน เวลา ในปฏิทิน ยังคอยย้ำเตือนถึง วัน เวลาที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วัดหยุด  เป็นต้น กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ปฏิทิน ที่ใช้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ เป็น ปฏิทิน จันทรคติ และ สุริยคติ 

 

คลิกเพื่อดู เรื่องของปีชง

 

 ปีชง